Blair  - Soul Eater

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558



เนื้อหาที่เรียน

 ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
       1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
       2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
       3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
       4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
       5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
       6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

 กลุ่มที่ 1 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
              เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์



กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
            การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
               1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
               2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
                3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
                5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
                4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
               5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
                6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง



กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
                 STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
                   -Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
                    -Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
                   -Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

           สามารถนำเนื้อหาการเรียนการสอน รูปแบบการสอนในแบบต่างๆไปใช้ในการฝึกสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้และได้รับพัฒนาการที่ดี

บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน

ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ก็พยายามศึกษาหาความรู้เจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่9 วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา
   
           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
     
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ


** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน
- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้      
             
                  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน

                   โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน

ประเมินตนเอง

                     ตั้งใจเรียน ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง

ประเมินเพื่อน

                  เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

                   อาจาร์ยมีเทคนิคการสอนที่ดี พูดให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาที่เรียน

 1. การนำเสนอการจัดประสบการณ์แบบโครงการ Projec Appport มี 5 ลักษณะ
                    1.1 มีโอกาศในการอภิปราย
                    1.2 นำเสนอประสบการณ์เดิม
                    1.3 การทำงานภาคสนาม
                    1.4 สืบค้นข้อมูล
                    1.5 การจัดการแสดง

  การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
                        Project Approach คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
                  1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
                  2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
                  3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
                  4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
                    โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
                   -สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
                   -กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
                   -รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                    1. การอภิปรายกลุ่ม
                    2. การทำงานภาคสนาม
                    3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                    4. การสืบค้น
                    5. การจัดแสดง
                    กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
                 - เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
                 - ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
                - เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
                - เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
                - ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
               -  กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ  ประดิษฐ์  เล่นบทบาทสมมติ
               - โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

เพลง เท่ากัน--ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนับฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบ ฉันที่หัวแม่มือ



นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์

1. นางสาว เปมิกา นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยการนำผลไม้มาบอกชนิดของลักษณะ
2.นางสาว ปาริฉัตร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านนิทานลูกหมู 3 ตัว บอกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในนิทานเช่น จำนวนลูกหมู อายุของลูกหมู
3.นางสาว นิศากร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านเกมส์ลูกเต๋า ได้รู้จักจำนวน ได้การนับ การเปรียบเทียบ
4. นางสาว กัญญาลักษณ์  นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านกิจกรรมรถไฟหรรษา ได้นับจำนวน

 เพื่อนนำเสนอ บทความ

เลขที่ 21 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตครอบครัว


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
3.ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้

                     สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง


บรรยากาศในห้อง

                  เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน สนใจการเรียนดีระดับนึง ให้ความร่วมมือในการเรียน

ประเมินตนเอง

                ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์  ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์ความพร้อมในการสอนและสอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา