Blair  - Soul Eater

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาการเรียนรู้

            มีการทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา โดยการใช้คำถามดังนี้

             - ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร? 

    ความหมายของพัฒนาการ คือ มีความแตกต่างระหว่างบุคคล 
มีปัจจัยพัฒนาการ 3 สิ่ง คือ พันธุ์กรรม , การอบรมเลี้ยงดู , สภาพแวดล้อม
   ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็นความสามารถของบุคคลและมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้เราสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้นได้

             - พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร?

      สมองเป็นเครื่องมือที่คอยรับส่ง ควบคุม กำกับ สั่งการร่างกาย ให้มีพัฒนาการแต่ละขั้นจัดเป็นลำดับขั้นตอน

             - พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร?

   
       ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


                    
       1. พัฒนาทางการสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัย ซึ่งแบ่งได้ 4 วัยดังนี้

               - ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor period) มีอายุอยู่ในช่วง 0-2 ปี
 
               - ขั้นก่อนปฏิบัติการการคิด (Preoperational period) มีอายุอยู่ในช่วง 2 – 7 ปี

               - ขั้นการรับรู้และการกระทำหรือขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete operational period) มีอายุอยู่ในช่วง 7-11 ปี ขั้นนี้นอกจากเรียนรู้แบบรูปธรรมได้ยังสามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ด้วย

               - ขั้นการคิดแบบนามธรรม(Formal operational period)มีอายุอยู่ในช่วง11-15 ปี ขั้นนี้คิดเป็นนามธรรม,ตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

         2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

         3. กระบวนการทางสติปัญญา มี 2 ลักษณะ

                - การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)เป็นกระบวบการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

                - การปรับและการจัดระบบ(accommodation)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสาน กลมกลืน จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น




 ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์



        1.การจัดโครงสร้างของความรู้ ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กมีผลต่อการจัดการเรียนรู้ของเด็ก
      
         2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

      3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

         4. แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการเรียนรู้

         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ

            - ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

                - ขั้นการเรียนรู้จากการคิด (Iconic stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

                - ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์ และนามธรรม (Symbolic stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อน และเป็นนามธรรมได้

           6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม

            7. การเรียนรู้ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง




ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้



       การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการของไวก็อตสกี้

แนวคิดของไวก็อตสกี้เรื่องพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ และการเสริมต่อการเรียนรู้ พื้นที่รอยต่อพัฒนาการเป็นระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงกับระดับพัฒนาการที่สามารถเป็นไปได้ เด็กสามารถแก้ปัญหาที่ยากเกินกว่าระดับพัฒนาการที่แท้จริงของเขาได้ หากได้รับการแนะนำช่วยเหลือหรือได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เชี่ยวชาญที่มีความสามารถมากกว่า ต่อมาจะอธิบายแนวความคิดเรื่องการเสริมต่อการเรียนรู้ การเสริมต่อการเรียนรู้เป็นบทบาทผู้สอนในการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนและเตรียมการชี้แนะหรือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนไปสู่พัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น จากนั้นก็จะอธิบายข้อเสนอแนะที่ทำให้การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ




             - การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                       
                     การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่สิ่งใหม่ๆ มีการเรียนรู้ของผิดพลาดของตนและนำไปใช้สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่

             - เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                      
                     เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำแบบอิสระ มีความสนุก (การเล่น) เและแบบลงมือกระทำแต่มีคนกำกับ (ไม่มีการเล่น)






                       หลักสูตรการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                              - สอนแบบรูปธรรม จับต้องได้
                              - สอนโดยใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ มีสีสันสดใสและมีรูปภาพประกอบ
                              - ให้เด็กมีส่วนร่วม ลงมือกระทำและมีการแลกเปลี่ยนความคิด
                              - ใช้เวลาที่ไม่นาน ไม่เกิน 10 - 15 นาที


เพื่อนนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน เลขที่ 4-6

            - เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            - เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
            - เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่านิทาน

วิธีการสอน



             - อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
             - หลักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             - มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน โดยใช้ Power Point มานำเสนอ



             - มีการถามเป็นรายบุคคล และ ให้ช่วยกันระดมความคิด
             - มีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน

ทักษะที่ได้

              - ทักษะการกล้าแสดงออก
              - ทักษะในการระดมความคิดกับเพื่อน ๆ
              - ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการแปลงเนื้อเพลง ให้เนื้อเป็นไปตามเรื่องที่เราได้ คือ คณิศศาสตร์

การประยุกต์ใช้

              - สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ หรือ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับการพัฒนาตามวัย

บรรยากาศในการเรียน

               อากาศในห้องเรียนเย็น

ประเมินตนเอง
               
               เข้าใจที่อาจาร์ยสอนในเนื้อหาสาระการเรียนในวันนี้

ประเมินเพื่อน

                เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบคำถาม และ ในการแปลงเพลงคณิตศาสตร์

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นและมีการอธิบายซ้ำเมื่อมีนักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น