Blair  - Soul Eater

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย



ชื่องานวิจัย: การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานคณิต

ชื่อผู้วิจัย : ขวัญนุช  บุญยู่ฮง (2545),บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ความมุ่งหมายของการวิจัย: เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ก่อนและหลังการทดสอบ

ความสำคัญของการวิจัย: ผลของการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางกับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยแนวทางการบูรณาการในรูปแบบการเล่านิทานคณิตศาสตร์ให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 

กลุ่มตัวอย่าง: นักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จังหวัดระยอง  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงมาหนึ่งห้องเรียน จากนั้นผู้วิจัยทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้าง แล้วเลือกเด็กที่ได้คะแนนต่ำ จำนวน 15 คน เพื่อเข้ากิจกรรมการเล่า “นิทานคณิต ” เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที

เครื่องมือที่ใช้: แผนการจัดกิจกรรมการเล่า “ นิทานคณิต ”และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น  0.90

การดำเนินการทดลอง: แบบแผนการทดลองOne-Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t - test  for dependent sample

สรุปผลการวิจัย: เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อจำแนกรายด้านแล้ว พบว่า ในด้านการนับ  การรู้ค่า   ตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านการจัดประเภท สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมักจะชอบฟังนิทาน เพราะให้ความสนุกสนานและเพลินเพลิด กิจกรรมการเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่เด็กๆชอบ นิทานจึงเป็นสิ่งเร้าที่ดี ที่ทำให้เด็กสนใจ ซึ้งเป็นแรงจูงใจในเรียนรู้และถ้านำมาบูรณาการการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน ถ้าผู้ที่เล่านิทานมีเทคนิคในการเล่าที่ดีนั้นจะทำให้เด็กสนใจและติดตามเนื้อหาของเรื่องด้วยความเต็มใจ ตามทฤษฏีของแบบดูรา ที่กล่าวว่า "กระบวนการการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ที่ดี"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น