Blair  - Soul Eater

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง การใช้หุ่นมือ - Early Years : Using Puppets
โดย ชีลา ซาจ และซู ดูแรนท์ ที่ปรึกษาปฐมวัย

  เล่าถึงความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ประกอบการสอน โดยอธิบายว่าสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี เริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน ชีลาเน้นว่าผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดีโดยอาจฝึกกับเพื่อน หรือฝึกหน้ากระจกก่อนนำไปสอนเด็ก ๆ เราได้เห็นปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ที่มีต่อเบอร์นาร์ด หุ่นกระบอกที่ชีลานำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สท เป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะด้านการนับเลข และต้องการให้เด็ก ๆ ช่วยสอนวิธีนับ หุ่นกระบอกช่วยกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่นการใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการ และการสื่อสาร ซู และชีลาอธิบายว่า บางครั้งนักเรียนที่เงียบที่สุด ก็เริ่มพูดคุยกับหุ่นกระบอกได้อย่างไร

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาการเรียนรู้

            มีการทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา โดยการใช้คำถามดังนี้

             - ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร? 

    ความหมายของพัฒนาการ คือ มีความแตกต่างระหว่างบุคคล 
มีปัจจัยพัฒนาการ 3 สิ่ง คือ พันธุ์กรรม , การอบรมเลี้ยงดู , สภาพแวดล้อม
   ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็นความสามารถของบุคคลและมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้เราสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้นได้

             - พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร?

      สมองเป็นเครื่องมือที่คอยรับส่ง ควบคุม กำกับ สั่งการร่างกาย ให้มีพัฒนาการแต่ละขั้นจัดเป็นลำดับขั้นตอน

             - พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร?

   
       ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


                    
       1. พัฒนาทางการสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัย ซึ่งแบ่งได้ 4 วัยดังนี้

               - ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor period) มีอายุอยู่ในช่วง 0-2 ปี
 
               - ขั้นก่อนปฏิบัติการการคิด (Preoperational period) มีอายุอยู่ในช่วง 2 – 7 ปี

               - ขั้นการรับรู้และการกระทำหรือขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete operational period) มีอายุอยู่ในช่วง 7-11 ปี ขั้นนี้นอกจากเรียนรู้แบบรูปธรรมได้ยังสามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ด้วย

               - ขั้นการคิดแบบนามธรรม(Formal operational period)มีอายุอยู่ในช่วง11-15 ปี ขั้นนี้คิดเป็นนามธรรม,ตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

         2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

         3. กระบวนการทางสติปัญญา มี 2 ลักษณะ

                - การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)เป็นกระบวบการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

                - การปรับและการจัดระบบ(accommodation)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสาน กลมกลืน จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น




 ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์



        1.การจัดโครงสร้างของความรู้ ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กมีผลต่อการจัดการเรียนรู้ของเด็ก
      
         2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

      3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

         4. แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการเรียนรู้

         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ

            - ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

                - ขั้นการเรียนรู้จากการคิด (Iconic stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

                - ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์ และนามธรรม (Symbolic stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อน และเป็นนามธรรมได้

           6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม

            7. การเรียนรู้ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง




ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้



       การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการของไวก็อตสกี้

แนวคิดของไวก็อตสกี้เรื่องพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ และการเสริมต่อการเรียนรู้ พื้นที่รอยต่อพัฒนาการเป็นระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงกับระดับพัฒนาการที่สามารถเป็นไปได้ เด็กสามารถแก้ปัญหาที่ยากเกินกว่าระดับพัฒนาการที่แท้จริงของเขาได้ หากได้รับการแนะนำช่วยเหลือหรือได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เชี่ยวชาญที่มีความสามารถมากกว่า ต่อมาจะอธิบายแนวความคิดเรื่องการเสริมต่อการเรียนรู้ การเสริมต่อการเรียนรู้เป็นบทบาทผู้สอนในการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนและเตรียมการชี้แนะหรือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนไปสู่พัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น จากนั้นก็จะอธิบายข้อเสนอแนะที่ทำให้การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ




             - การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                       
                     การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่สิ่งใหม่ๆ มีการเรียนรู้ของผิดพลาดของตนและนำไปใช้สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่

             - เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                      
                     เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำแบบอิสระ มีความสนุก (การเล่น) เและแบบลงมือกระทำแต่มีคนกำกับ (ไม่มีการเล่น)






                       หลักสูตรการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                              - สอนแบบรูปธรรม จับต้องได้
                              - สอนโดยใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ มีสีสันสดใสและมีรูปภาพประกอบ
                              - ให้เด็กมีส่วนร่วม ลงมือกระทำและมีการแลกเปลี่ยนความคิด
                              - ใช้เวลาที่ไม่นาน ไม่เกิน 10 - 15 นาที


เพื่อนนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน เลขที่ 4-6

            - เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            - เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
            - เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่านิทาน

วิธีการสอน



             - อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
             - หลักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             - มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน โดยใช้ Power Point มานำเสนอ



             - มีการถามเป็นรายบุคคล และ ให้ช่วยกันระดมความคิด
             - มีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน

ทักษะที่ได้

              - ทักษะการกล้าแสดงออก
              - ทักษะในการระดมความคิดกับเพื่อน ๆ
              - ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการแปลงเนื้อเพลง ให้เนื้อเป็นไปตามเรื่องที่เราได้ คือ คณิศศาสตร์

การประยุกต์ใช้

              - สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ หรือ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับการพัฒนาตามวัย

บรรยากาศในการเรียน

               อากาศในห้องเรียนเย็น

ประเมินตนเอง
               
               เข้าใจที่อาจาร์ยสอนในเนื้อหาสาระการเรียนในวันนี้

ประเมินเพื่อน

                เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบคำถาม และ ในการแปลงเพลงคณิตศาสตร์

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นและมีการอธิบายซ้ำเมื่อมีนักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหน


วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่2 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558


 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558



การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เนื้อหาการเรียนรู้(ความรู้ที่ได้รับ)

         - ความหมายของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เด็กมีการพัฒนาแนวคิด ความเข้าใจและความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผ่านเรื่องราวและสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน
         
         - ความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เพื่อให้เด็กฝึกการสังเกต จำแนก หมวดหมู่และสามารถเปรียบเทียบสิ่งต่างๆได้ ฝึกการนับ การรู้ค่าของจำนวน ตำแหน่งของวัตถุนั้นๆ และทิศทาง
         
         - ประโยชน์ของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา พอเจอได้ทุกที่ทุกเวลา จึงจำเป็นที่จะต้องฝึกสอนให้เด็กเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น การนับ การคำนวณ การบอกทิศทาง การบอกจำนวนของสิ่งของนั้นๆ รูปทรงรูปร่าง ปริมาณ ขนาด เป็นต้น

คาดหวัง


         - คุณธรรม จริยธรรม
         - ความรู้ ความหมาย ควาามสำคัญของคณิตศาสตร์
         - ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
         - ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข

วิธีการสอน

         - การสอนแบบบรรยาย
         - ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้ตอบ
         - สอนการคาดเดาจากตัวเลขในชีวิตประจำวัน

บรรยายกาศในห้องเรียน


         อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย โต๊ะ เก้าอี้เป็นระเบียบ

การนำไปประยุกต์ใช้


          เข้าใจและรู้รู้ถึงประโยชน์และความจำเป็นอย่างยิ่งของคณิตศาสตร์ที่จะต้องสอนให้แก่เด็กปฐมวัยว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เด้กปฐมวัยต้องเรียนรู้

ประเมินตนเอง

          มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน และอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจาร์ยผู้สอนบอกให้ทำกิจกรรมกลุ่ม

ประเมินเพื่อน

         ตั้งใจเรียนและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี

ประเมินอาจาร์ย

         - อาจารย์สอนสนุก มีการพูดที่สนุกสนานและเข้าใจในเนื้อหาการสอน



   

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

เรื่อง เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ให้เด็กที่เกลียดคณิตศาสตร์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=23313&Key=news_research


6 เทคนิคในการสอนคณิตศาสตร์ ได้แก่


1. การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก สอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร

2. สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข ใช้วิธีกราฟิก รูปภาพ เข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา 

3. ศิลปะ ใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย

4. การ์ตูน ต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

5. การเล่นบทบาทสมมติ ให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม และแจกให้เพื่อน 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม เด็กก็จะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร

6. เกม ใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า






วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย



ชื่องานวิจัย: การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานคณิต

ชื่อผู้วิจัย : ขวัญนุช  บุญยู่ฮง (2545),บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ความมุ่งหมายของการวิจัย: เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ก่อนและหลังการทดสอบ

ความสำคัญของการวิจัย: ผลของการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางกับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยแนวทางการบูรณาการในรูปแบบการเล่านิทานคณิตศาสตร์ให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 

กลุ่มตัวอย่าง: นักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จังหวัดระยอง  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงมาหนึ่งห้องเรียน จากนั้นผู้วิจัยทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้าง แล้วเลือกเด็กที่ได้คะแนนต่ำ จำนวน 15 คน เพื่อเข้ากิจกรรมการเล่า “นิทานคณิต ” เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที

เครื่องมือที่ใช้: แผนการจัดกิจกรรมการเล่า “ นิทานคณิต ”และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น  0.90

การดำเนินการทดลอง: แบบแผนการทดลองOne-Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t - test  for dependent sample

สรุปผลการวิจัย: เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อจำแนกรายด้านแล้ว พบว่า ในด้านการนับ  การรู้ค่า   ตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านการจัดประเภท สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมักจะชอบฟังนิทาน เพราะให้ความสนุกสนานและเพลินเพลิด กิจกรรมการเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่เด็กๆชอบ นิทานจึงเป็นสิ่งเร้าที่ดี ที่ทำให้เด็กสนใจ ซึ้งเป็นแรงจูงใจในเรียนรู้และถ้านำมาบูรณาการการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน ถ้าผู้ที่เล่านิทานมีเทคนิคในการเล่าที่ดีนั้นจะทำให้เด็กสนใจและติดตามเนื้อหาของเรื่องด้วยความเต็มใจ ตามทฤษฏีของแบบดูรา ที่กล่าวว่า "กระบวนการการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ที่ดี"


วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่1 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558





เนื้อหา

       
     มาตารฐาน คือ เกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์ที่ว่านี้ก็จะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำเพราะสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้อีก
      
      การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีคำหลักๆอยู่ 3 คำคือ 
           1.การจัดประสบการณ์ คือ การเล่น การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ถามตอบ
           2.คณิตศาสตร์ มี การบวก ลบ คูณและหาร,การนับจำนวน,รูปทรง,เส้น,สี
           3เด็กปฐมวัย มี พัฒนาการ และวิธีการเรียนรู้
      


ความคาดหวัง


            1.คุณธรรม จริยธรรม
            2.ความรู้ ตัวสาระเนื้อหา
            3.ทักษะทางปัญญา
            4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล                                        
            5.ทักษะทางตัวเลข การประมวลสาระสนเทศ
            6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้


วิธีการสอน


           - สอนแบบบรรยาย
           - สอนโดยการอภิปรายถามตอบ
           - สอนโดยใช้โปรแกรม Mind Map 
        

บรรยากาศในห้องเรียน


         -



ครูผู้สอน


          -








*หมายเหตุ*  เนื่องจากวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558 ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียน เพราะไม่สบายเป็นไข้หวัดจึงได้ทำการหยุดเรียน

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



เด็กปฐมวัย คือ เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 5 ปี เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากค้นหาสิ่งใหม่อยู่เสมอ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ เด็กวัยนี้ เป็นขั้นที่เจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม และสติปัญญา


วิชาคณิตศาสตร์   คือ  วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ ตัวเลข  จำนวน  รูปทรงต่างๆ   รูปภาพ   การนับ  การท่องจำ  การคำนวณ   เรขาคณิต


 การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์   

        - ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
        - มีภาพประกอบหรือสื่ออื่นๆเพื่อดึงดูดความสนใจ
        - ทำกิจกรรมให้เด็กดูก่อน เช่น การเล่นเกม  นับเลข หรือ อ่านเขียน เป็นต้น
        - จัดทำสื่อไว้ในห้องเรียน เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ได้ง่าย  ได้เร็ว
        - ให้เด็กเรียนรู้จากชีวิตประจำวันของตนหรือผู้ปกครอง เช่น  การซื้อของ  การได้รับเงินจากผู้ปกครอง   การไปจ่ายตลาดกับผู้ปกครอง  เป็นต้น


พัฒนาการที่เด็กจะได้รับจากวิชาคณิตศาสตร์

       เด็กจะได้รับทักษะการคิด การอ่าน การเขียน  เด็กสามารถคำนวณตัวเลขได้ทีละง่ายๆ  เด็กได้ใช้สติปัญญาของตนในการคิด  อ่าน  เขียนและสามารถฝึกปฎิบัติได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้





          การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้าน แต่ต่างกันตรงวิธีการ สำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก เพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
                         

                     คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้                  
            1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
                         1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
                         1.2 การจัดหมวดหมู่
                         1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ


             2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
                          2.1 การนับจำนวน
                          2.2 การรู้ค่าของจำนวน
                          2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน


              3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
                          3.1 เข้าใจตำแหน่ง
                          3.2 เข้าใจระยะ
                          3.3 การเข้าใจทิศทาง
                          3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ

                          3.1 เข้าใจตำแหน่ง
                          3.2 เข้าใจระยะ
                          3.3 การเข้าใจทิศทาง
                          3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ


               4.ทักษะทางด้านเวลา
                          4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
                          4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
                          4.3 ฤดูกาล

                        



        


อ้างอิงจาก คณิตศาสตร์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C


 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นางปิยะดา เยาวรัตน์ http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3979