Blair  - Soul Eater

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่7  บันทึกการเรียนวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

     รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

               1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
               2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
               3. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
               4. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
               5. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
               6.  รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

การนำไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ความสำคัญการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

1. การจักประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ นำไปใช้ได้จริงไม่ได้สลับเพราะมันทับซ้อนกันอยู่
3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้าน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบ #พหุปัญญา
5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


 เพื่อนนำเสนอ โทรทัศน์ครู

เลขที่ 17 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า การสอนบวกเลขง่ายๆ


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
4.ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้

                   การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้ สามารถนำไปประยุกต์ได้ทุกกิจกรรม


บรรยากาศในห้อง

                     เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

              มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน

                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน สอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา



วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

              บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

1. การสอนแบบลงมือปฎิบัติ
2. เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
3. ความคิดเชิงคณิตศาสตร์

 เพื่อนนำเสนอ โทรทัศน์ครู

เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ

เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น

 ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้

  1. เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
  2. เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
  3. เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  4.  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
  5.  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  6.  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  7.  เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  8.  เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  9.  เกมพื้นฐานการบวก


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น


การประยุกย์ใช้

             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นแนวทางที่ดีสำหรับทุกๆกิจกรรม ได้สามารถนำไปประยุกต์ในทุกกิจกรรมได้


บรรยากาศในห้อง
                
              เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน สนใจการเรียนดีระดับนึง ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินตนเอง
                   
                  ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ

ประเมินเพื่อน

                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                     อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอนมากสอน



วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

                        1.เนื้อหาการสอนแบบโครงการ
                        2.การสอนแบบลงมือปฎิบัติ
                        3.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                        4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียน
                        5.กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                        6.สาระและมาตรฐานมี 6 สาระ
                                   6.1. จำนวนและการดำเนินการ
                                   6.2. การวัด
                                   6.3. เรขาคณิต
                                   6.4. พีชคณิต
                                   6.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                                   6.6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                      7.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย8.การเรียนรู้ในชั้นเรียน
                                  7.1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
                                  7.2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
                                  7.3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเราขาคณิต
                                  7.4. มีความรู้ความเข้าใจของรูปที่มีรูปร่างขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                                  7.5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอแผนภูมิตัวอย่าง
                                  7.6. มีทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์ที่น่าจะเป็น

เพื่อนนำเสนอบทความ
เลขที่ 10 เรื่องความสามารถแต่ละช่วงวัยของเด็ก พัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็ก


ทักษะที่ได้

1. ได้ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี จับใจความสิ่งที่อาจารย์สอน
2.  ได้ฝึกการร้องเพลงสำหรับการบูรณาการณ์ในการสอนเด็ก
3.  ได้จดกระบวนการคิดว่าจะฟังเพื่อนอย่างให้เข้าใจ

วิธีการสอน

1. การสอนแบบมีแบบทดสอบก่อนเรียน
2. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
3. การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น


การประยุกต์ใช้

               ทุกสิ่งที่อาจารย์สอนมาสามารถนำไปใช้ในเหตุการณ์จริงได้ทั้งหมดเพราะทุกสิ่งล้วนมาจากสิ่งที่ต้องเจอทุกสิ่ง

บรรยากาศในห้อง

                         สนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียน อากาศภายในห้องเย็นสบาย

ประเมินตนเอง

                         ตั้งใจเรียน มีตวามเข้าใจในเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน

ประเมินเพื่อน

                         เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจาร์ยถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                         อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน






วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่  28 มกราคมพ.ศ. 2558




เนื้อหา

          - แปะชื่อบนกระดานว่าใครมามหาวิทยาลัยก่อน 8 โมงและหลัง 8 โมง
          - ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา

                1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
                2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
                3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
                4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู


                 1. เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
                 2. เลขที่ 8 เรื่อง ผลไม้แสนสนุก
                 3. เลขที่ 9 เรื่อง การบูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียน


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



               -เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ จำนวน รูปทรง
               -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ 
               -ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ เช่น การเทน้ำกลับไปกลับมาในภาชนะที่แตกต่างกัน การโยง การจับคู่ เป็นต้น
               -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
               -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
               -เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ


ทักษะพื้นฐาน

1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง และหาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เช่น ข้าวสารสองถังกับข้าวสารสามถัง
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
   
                    *การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด*

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- ตัวเลข             น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
- ขนาด              ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
- รูปร่าง              วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า แถว
- ที่ตั้ง                 บน ต่ำ สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าของเงิน        สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- ความเร็ว           เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
- อุณหภูมิ            เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   1.การนับ
   2.ตัวเลข
   3.การจับคู่
   4.การจัดประเภท
   5.การเปรียบเทียบ
   6.รูปร่างและพื้นที่
   7.การวัด
   8.การจัดลำดับ


หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริงที่เป็นรูปธรรม 
-การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-ขาย 
-เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเองและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


 เพลง สวัสดียามเช้า

  ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
 กินอาหารของดีมีทั่ว
  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

       หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า


เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

  หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

     อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

   หลั่นลัน หลั่นล้า



เพลง เข้าแถว

 เข้าแถว เข้าแถว
   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
      อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
   ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว







วิธีการสอน


            - ใช้แบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
            - อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
            - ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน


ทักษะ



           - ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
           - ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ

           - ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้



             นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน


               วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น


ประเมินตนเอง


              มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน


                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง


ประเมินอาจารย์              


                มีน้ำเสียงในการสอนน่าฟัง  มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู