Blair  - Soul Eater

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 14 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558


เนื้อหาที่เรียน

                         - อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง 
คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง





วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558





เนื้อหาที่เรียน

          -  อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และนักศึกษาท้ายว่ามีขนมในกระปุกจำนวนเท่าไร? ให้ตัวแทน 1 คน มานับจำนวนขนมที่อยู่ในกระปุก โดยการแบ่งขนมเป็นกองกองละ 10




( ขนมในกระปุกมีทั้งหมด 32 ชึ้น )

          

อาจาร์ยให้เด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า
อาจาร์ยให้สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้

                           เนื้อหาเรียน  และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

                          อากาศร้อน พื้นที่ในการเรียนการสอนไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเท่าไหร่

ประเมินตนเอง

                          ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์   

ประเมินเพื่อน

                        ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   


ประเมินอาจารย์

                           แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้ 



วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558



เนื้อหาที่เรียน

         อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้นักศึกษาร่วมกันหาหัวข้อที่จะเขียนแผน กำหนดเนื้อหาที่จะเขียนตามที่สนใจ

         โดยอาจาร์ยจะให้ทำเป็น Mind Map ก่อน จึงให้ลงมือเขียนแผนการจัดประสบการ์ณ





การนำไปประยุกต์ใช้

                          ได้ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ วันนี้ทำให้ได้นำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ในการเขียนแผนและยังนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

                           มีแสงสว่างเพียงพอ   อากาศภายในห้องเรียนเย็นสบาย โต๊จัดไว้เรียบร้อย

ประเมินตนเอง

                         วันนี้มาสายเนื่องจากฝนตก และไม่ได้ใส่ถุงเท้าเนื่องจากฝนตกหนัก ถุงเท้าเปียก
ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์

ประเมินเพื่อน

                        ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

ประเมินอาจารย์
                           
                        อาจาร์ยมีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน



วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11 บันทึกการเรียนวันพุธที่ เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558





ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีงานการแข่งขันกีฬาศึกษาศาสตร์สัมพันธ์
แต่มีการเรียนการสอนชดเชย









วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่10 วัน พุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558



เนื้อหาที่เรียน

 ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
       1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
       2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
       3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
       4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
       5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
       6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

 กลุ่มที่ 1 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
              เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์



กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
            การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
               1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
               2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
                3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
                5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
                4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
               5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
                6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง



กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
                 STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
                   -Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
                    -Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
                   -Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

           สามารถนำเนื้อหาการเรียนการสอน รูปแบบการสอนในแบบต่างๆไปใช้ในการฝึกสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้และได้รับพัฒนาการที่ดี

บรรยากาศในห้องเรียน

        มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้  โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเมื่อทุกครั้งที่ไปเรียน

ประเมินตนเอง

       ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ก็พยายามศึกษาหาความรู้เจากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

       ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

ประเมินอาจารย์

            แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ร้องเพลงเพราะ  คำพูดจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาในชั้นเรียนสม่ำเสมอ



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่9 วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา
   
           - นำเสนอบทความ
                   เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
                   เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "
     
          - นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
                   เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
                   เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ


** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ  ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน
- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-  เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
-  ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ
-  ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-  ทักษะในการพูดนำเสนองาน
-  ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้      
             
                  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน

                   โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน

ประเมินตนเอง

                     ตั้งใจเรียน ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง

ประเมินเพื่อน

                  เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

                   อาจาร์ยมีเทคนิคการสอนที่ดี พูดให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาที่เรียน

 1. การนำเสนอการจัดประสบการณ์แบบโครงการ Projec Appport มี 5 ลักษณะ
                    1.1 มีโอกาศในการอภิปราย
                    1.2 นำเสนอประสบการณ์เดิม
                    1.3 การทำงานภาคสนาม
                    1.4 สืบค้นข้อมูล
                    1.5 การจัดการแสดง

  การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
                        Project Approach คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
                  1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
                  2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
                  3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
                  4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
                    โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
                   -สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
                   -กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
                   -รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                    1. การอภิปรายกลุ่ม
                    2. การทำงานภาคสนาม
                    3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                    4. การสืบค้น
                    5. การจัดแสดง
                    กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
                 - เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
                 - ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
                - เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
                - เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
                - ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
               -  กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ  ประดิษฐ์  เล่นบทบาทสมมติ
               - โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

เพลง เท่ากัน--ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนับฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบ ฉันที่หัวแม่มือ



นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์

1. นางสาว เปมิกา นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยการนำผลไม้มาบอกชนิดของลักษณะ
2.นางสาว ปาริฉัตร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านนิทานลูกหมู 3 ตัว บอกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในนิทานเช่น จำนวนลูกหมู อายุของลูกหมู
3.นางสาว นิศากร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านเกมส์ลูกเต๋า ได้รู้จักจำนวน ได้การนับ การเปรียบเทียบ
4. นางสาว กัญญาลักษณ์  นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านกิจกรรมรถไฟหรรษา ได้นับจำนวน

 เพื่อนนำเสนอ บทความ

เลขที่ 21 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตครอบครัว


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
3.ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้

                     สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง


บรรยากาศในห้อง

                  เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน สนใจการเรียนดีระดับนึง ให้ความร่วมมือในการเรียน

ประเมินตนเอง

                ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์  ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

               ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์ความพร้อมในการสอนและสอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา




วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่7  บันทึกการเรียนวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

     รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

               1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
               2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
               3. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
               4. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
               5. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
               6.  รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

การนำไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ความสำคัญการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

1. การจักประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ นำไปใช้ได้จริงไม่ได้สลับเพราะมันทับซ้อนกันอยู่
3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้าน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบ #พหุปัญญา
5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


 เพื่อนนำเสนอ โทรทัศน์ครู

เลขที่ 17 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า การสอนบวกเลขง่ายๆ


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
4.ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้

                   การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้ สามารถนำไปประยุกต์ได้ทุกกิจกรรม


บรรยากาศในห้อง

                     เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

              มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน

                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน สอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา



วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

              บันทึกการเรียนวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

1. การสอนแบบลงมือปฎิบัติ
2. เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
3. ความคิดเชิงคณิตศาสตร์

 เพื่อนนำเสนอ โทรทัศน์ครู

เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ

เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น

 ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้

  1. เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา  จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก 
  2. เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
  3. เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  4.  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต 
  5.  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  6.  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  7.  เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  8.  เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  9.  เกมพื้นฐานการบวก


ทักษะที่ได้

1. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
2. การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น


การประยุกย์ใช้

             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นแนวทางที่ดีสำหรับทุกๆกิจกรรม ได้สามารถนำไปประยุกต์ในทุกกิจกรรมได้


บรรยากาศในห้อง
                
              เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน สนใจการเรียนดีระดับนึง ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินตนเอง
                   
                  ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ

ประเมินเพื่อน

                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี   

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                     อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอนมากสอน



วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




เนื้อหาที่เรียน

                        1.เนื้อหาการสอนแบบโครงการ
                        2.การสอนแบบลงมือปฎิบัติ
                        3.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                        4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฎิบัติในชั้นเรียน
                        5.กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                        6.สาระและมาตรฐานมี 6 สาระ
                                   6.1. จำนวนและการดำเนินการ
                                   6.2. การวัด
                                   6.3. เรขาคณิต
                                   6.4. พีชคณิต
                                   6.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                                   6.6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                      7.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย8.การเรียนรู้ในชั้นเรียน
                                  7.1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
                                  7.2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
                                  7.3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเราขาคณิต
                                  7.4. มีความรู้ความเข้าใจของรูปที่มีรูปร่างขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                                  7.5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอแผนภูมิตัวอย่าง
                                  7.6. มีทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์ที่น่าจะเป็น

เพื่อนนำเสนอบทความ
เลขที่ 10 เรื่องความสามารถแต่ละช่วงวัยของเด็ก พัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็ก


ทักษะที่ได้

1. ได้ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี จับใจความสิ่งที่อาจารย์สอน
2.  ได้ฝึกการร้องเพลงสำหรับการบูรณาการณ์ในการสอนเด็ก
3.  ได้จดกระบวนการคิดว่าจะฟังเพื่อนอย่างให้เข้าใจ

วิธีการสอน

1. การสอนแบบมีแบบทดสอบก่อนเรียน
2. การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
3. การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น


การประยุกต์ใช้

               ทุกสิ่งที่อาจารย์สอนมาสามารถนำไปใช้ในเหตุการณ์จริงได้ทั้งหมดเพราะทุกสิ่งล้วนมาจากสิ่งที่ต้องเจอทุกสิ่ง

บรรยากาศในห้อง

                         สนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียน อากาศภายในห้องเย็นสบาย

ประเมินตนเอง

                         ตั้งใจเรียน มีตวามเข้าใจในเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน

ประเมินเพื่อน

                         เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจาร์ยถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                         อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน






วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่  28 มกราคมพ.ศ. 2558




เนื้อหา

          - แปะชื่อบนกระดานว่าใครมามหาวิทยาลัยก่อน 8 โมงและหลัง 8 โมง
          - ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีมา

                1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
                2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
                3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
                4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู


                 1. เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
                 2. เลขที่ 8 เรื่อง ผลไม้แสนสนุก
                 3. เลขที่ 9 เรื่อง การบูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียน


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



               -เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ จำนวน รูปทรง
               -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ 
               -ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ เช่น การเทน้ำกลับไปกลับมาในภาชนะที่แตกต่างกัน การโยง การจับคู่ เป็นต้น
               -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
               -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
               -เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ


ทักษะพื้นฐาน

1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง และหาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เช่น ข้าวสารสองถังกับข้าวสารสามถัง
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
   
                    *การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด*

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- ตัวเลข             น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
- ขนาด              ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
- รูปร่าง              วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า แถว
- ที่ตั้ง                 บน ต่ำ สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าของเงิน        สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- ความเร็ว           เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
- อุณหภูมิ            เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
   1.การนับ
   2.ตัวเลข
   3.การจับคู่
   4.การจัดประเภท
   5.การเปรียบเทียบ
   6.รูปร่างและพื้นที่
   7.การวัด
   8.การจัดลำดับ


หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริงที่เป็นรูปธรรม 
-การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อ-ขาย 
-เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตัวเองและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


 เพลง สวัสดียามเช้า

  ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
 กินอาหารของดีมีทั่ว
  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

       หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า


เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

  หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
    หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

     อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

   หลั่นลัน หลั่นล้า



เพลง เข้าแถว

 เข้าแถว เข้าแถว
   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
      อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
   ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว







วิธีการสอน


            - ใช้แบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
            - อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
            - ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน


ทักษะ



           - ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
           - ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ

           - ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้



             นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้รอบด้าน



บรรยากาศในห้องเรียน


               วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น


ประเมินตนเอง


              มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน


                ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง


ประเมินอาจารย์              


                มีน้ำเสียงในการสอนน่าฟัง  มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู





วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง การใช้หุ่นมือ - Early Years : Using Puppets
โดย ชีลา ซาจ และซู ดูแรนท์ ที่ปรึกษาปฐมวัย

  เล่าถึงความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ประกอบการสอน โดยอธิบายว่าสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี เริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน ชีลาเน้นว่าผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดีโดยอาจฝึกกับเพื่อน หรือฝึกหน้ากระจกก่อนนำไปสอนเด็ก ๆ เราได้เห็นปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ที่มีต่อเบอร์นาร์ด หุ่นกระบอกที่ชีลานำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สท เป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะด้านการนับเลข และต้องการให้เด็ก ๆ ช่วยสอนวิธีนับ หุ่นกระบอกช่วยกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่นการใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการ และการสื่อสาร ซู และชีลาอธิบายว่า บางครั้งนักเรียนที่เงียบที่สุด ก็เริ่มพูดคุยกับหุ่นกระบอกได้อย่างไร

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3 บันทึกการเรียนวันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


 บันทึกการเรียนประจำวันวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558



เนื้อหาการเรียนรู้

            มีการทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา โดยการใช้คำถามดังนี้

             - ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร? 

    ความหมายของพัฒนาการ คือ มีความแตกต่างระหว่างบุคคล 
มีปัจจัยพัฒนาการ 3 สิ่ง คือ พันธุ์กรรม , การอบรมเลี้ยงดู , สภาพแวดล้อม
   ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็นความสามารถของบุคคลและมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้เราสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้นได้

             - พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร?

      สมองเป็นเครื่องมือที่คอยรับส่ง ควบคุม กำกับ สั่งการร่างกาย ให้มีพัฒนาการแต่ละขั้นจัดเป็นลำดับขั้นตอน

             - พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร?

   
       ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


                    
       1. พัฒนาทางการสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัย ซึ่งแบ่งได้ 4 วัยดังนี้

               - ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor period) มีอายุอยู่ในช่วง 0-2 ปี
 
               - ขั้นก่อนปฏิบัติการการคิด (Preoperational period) มีอายุอยู่ในช่วง 2 – 7 ปี

               - ขั้นการรับรู้และการกระทำหรือขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete operational period) มีอายุอยู่ในช่วง 7-11 ปี ขั้นนี้นอกจากเรียนรู้แบบรูปธรรมได้ยังสามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ด้วย

               - ขั้นการคิดแบบนามธรรม(Formal operational period)มีอายุอยู่ในช่วง11-15 ปี ขั้นนี้คิดเป็นนามธรรม,ตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

         2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

         3. กระบวนการทางสติปัญญา มี 2 ลักษณะ

                - การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)เป็นกระบวบการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

                - การปรับและการจัดระบบ(accommodation)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสาน กลมกลืน จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น




 ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์



        1.การจัดโครงสร้างของความรู้ ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กมีผลต่อการจัดการเรียนรู้ของเด็ก
      
         2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

      3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

         4. แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการเรียนรู้

         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ

            - ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

                - ขั้นการเรียนรู้จากการคิด (Iconic stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

                - ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์ และนามธรรม (Symbolic stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อน และเป็นนามธรรมได้

           6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม

            7. การเรียนรู้ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง




ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้



       การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการของไวก็อตสกี้

แนวคิดของไวก็อตสกี้เรื่องพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ และการเสริมต่อการเรียนรู้ พื้นที่รอยต่อพัฒนาการเป็นระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงกับระดับพัฒนาการที่สามารถเป็นไปได้ เด็กสามารถแก้ปัญหาที่ยากเกินกว่าระดับพัฒนาการที่แท้จริงของเขาได้ หากได้รับการแนะนำช่วยเหลือหรือได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เชี่ยวชาญที่มีความสามารถมากกว่า ต่อมาจะอธิบายแนวความคิดเรื่องการเสริมต่อการเรียนรู้ การเสริมต่อการเรียนรู้เป็นบทบาทผู้สอนในการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนและเตรียมการชี้แนะหรือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนไปสู่พัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น จากนั้นก็จะอธิบายข้อเสนอแนะที่ทำให้การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ




             - การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                       
                     การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่สิ่งใหม่ๆ มีการเรียนรู้ของผิดพลาดของตนและนำไปใช้สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่

             - เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร?
                      
                     เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำแบบอิสระ มีความสนุก (การเล่น) เและแบบลงมือกระทำแต่มีคนกำกับ (ไม่มีการเล่น)






                       หลักสูตรการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                              - สอนแบบรูปธรรม จับต้องได้
                              - สอนโดยใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ มีสีสันสดใสและมีรูปภาพประกอบ
                              - ให้เด็กมีส่วนร่วม ลงมือกระทำและมีการแลกเปลี่ยนความคิด
                              - ใช้เวลาที่ไม่นาน ไม่เกิน 10 - 15 นาที


เพื่อนนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน เลขที่ 4-6

            - เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            - เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
            - เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่านิทาน

วิธีการสอน



             - อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
             - หลักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             - มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน โดยใช้ Power Point มานำเสนอ



             - มีการถามเป็นรายบุคคล และ ให้ช่วยกันระดมความคิด
             - มีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน

ทักษะที่ได้

              - ทักษะการกล้าแสดงออก
              - ทักษะในการระดมความคิดกับเพื่อน ๆ
              - ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการแปลงเนื้อเพลง ให้เนื้อเป็นไปตามเรื่องที่เราได้ คือ คณิศศาสตร์

การประยุกต์ใช้

              - สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ หรือ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับการพัฒนาตามวัย

บรรยากาศในการเรียน

               อากาศในห้องเรียนเย็น

ประเมินตนเอง
               
               เข้าใจที่อาจาร์ยสอนในเนื้อหาสาระการเรียนในวันนี้

ประเมินเพื่อน

                เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบคำถาม และ ในการแปลงเพลงคณิตศาสตร์

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

                อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นและมีการอธิบายซ้ำเมื่อมีนักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหน